วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 27 เมษายน 2558

ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมในวันนี้คือ การสอบร้องเพลง  โดยเป็นเพลงที่อาจารย์เคยสอนมาในคาบเรียน ซึ่งจะมีทั้งหมด 21 เพลง

ฝึกกายบริหาร               ผลไม้                           กินผักกัน

ดอกไม้                         จ้ำจี้ดอกไม้                 ดวงอาทิตย์

ดวงจันทร์                      ดอกมะลิ                       กุหลาบ

นกเขาขัน                    รำวงดอกมะลิ              นกกระจิบ

เที่ยวท้องนา               แม่ไก่ออกไข่            .ลูกแมวสิบตัว

ลุงมาชาวนา              นม                             อาบน้ำ

แปรงฟัน                    พี่น้องกัน                  มาโรงเรียน

ตื่นเต้นจนร้องไม่ได้เลยอุส่าหัดร้องอย่าดี แต่ก็ตั้งใจให้ดีที่สุดค่ะ รักอ.เบียร์มากๆๆๆๆๆ



บันทึกอนุทินครั้งที่13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 23  เมษายน พ.ศ. 2558


.........เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้.........

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Indivdualized Educeation Program)
แผน IEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะจะทำให้ทราบว่าต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมิน

ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามรถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน



ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2.การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
*กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3.การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
  1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาพัฒนาการเด็ก
  3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีต่อการแสดงออกของเด็ก

4.การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนด

บันทึกอนุทิน12

                วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

     วันพฤหัสบดี ที่ 26  มีนาคม พ.ศ. 2558

  เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้......

  สอบย่อยข้อเขียน 5 ข้อ (ดูในชีท)

บันทึกอนุทินครั้งที่11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 19  มีนาคม พ.ศ. 2558

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

'' การเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน ''

การสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่

ความสำเร็จ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
-หัดให้เด็กทำเอง

จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งที่เด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
-มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องน้ำ
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตระกร้า
-กดชักโครกหรือตักนำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งหมด
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง

-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

บันทึกครั้งที่10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 12  มีนาคม พ.ศ. 2558

 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า "พูดซ้ำๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กอีกคนกับอีกคน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ทางภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช้คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าคำพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

บันทึกครั้งที่9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 5  มีนาคม พ.ศ. 2558

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

การฝึกเพิ่มเติม
-อบรมระยะสั้น,สัมมนา
-สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
-เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
-ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ฏปกติและเด็กพิเศษ
-รู้จักเด็กแต่ละคน
-มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
-การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
-วุฒิภาวะ
-แรงจูงใจ
-โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
-ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-ให้เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
อุปกรณ์
-มีลักษณะง่ายๆ
-ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กพิเศษ
-เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
-เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
-กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนาบได้
-เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ